COVID-19 การคิดเชิงระบบ กับการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก และเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกับหลายปัจจัย จึงได้มีการรวมกลุ่มกันของคณะผู้วิจัยสหสาขา สหวิชาชีพ เพื่อประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบและกระบวนการสร้างแบบจำลองพลวัตระบบในนามของ "คณะทำงานพัฒนาแบบจำลองระบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหา COVID-19" หรือ "Thailand COVID-19 Integrated Systems Simulation Lab (TCISS)" โดยมุ่งหวังประยุกต์ใช้แนวคิดและเครื่องมือของการคิดเชิงระบบเพื่อออกแบบและสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ด้วยคาดหวังให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และมีผลข้างเคียงจากการตัดสินใจเชิงนโยบายน้อยที่สุด คณะผู้วิจัยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสียในภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ผู้ประกอบการเอกชน สื่อมวลชน ด้วยมุ่งหวังจะสร้างแบบจำลองสถานการณ์ที่สามารถนำข้อมูลที่ใช้ไปคาดการณ์สถานการณ์รวมถึงออกแบบและตัดสินเชิงนโยบายได้จริง ผู้สนใจสามารถทดลองใช้แบบจำลองที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้น รวมถึงบทความวิชาการต่าง ๆ ได้จากเมนูทางด้านล่าง การสื่อสารนโยบายกับสาธารณะ ตัวเลขโควิดทางการต่ำกว่าความจริงเพียงใด? เปิดแผนที่นำทาง บูรณาการแก้ไขเชิงระบบ การระบาด COVID-19 แบบจำลองสถานการณ์ แบบจำลองสถานการณ์เพื่อพิจารณาแนวโน้มการระบาด ของโควิด-19 ในประเทศไทยระลอกที่สาม แบบจำลองสถานการณ์เพื่อพิจารณาแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ภายหลังการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ หลังการระบาดระลอกแรกในประเทศไทย ปี 2563 บทความสถานการณ์การระบาดกับการคิดเชิงระบบ ข้อควรระวังในการดำเนินการนโยบาย “เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับโรคโควิด” ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการแปลผลความสำเร็จของมาตรการล็อกดาวน์ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้มจากตัวเลขในรายงานประจำวันของศบค. เรายังทำอะไรเพิ่มเติมได้บ้างในสถานการณ์การระบาดที่เริ่มควบคุมได้ลำบากมากขึ้น? ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยในวันที่ 99 ของการระบาดระลอกสาม ข้อคิดบางประการเรื่องสัดส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่ตรวจพบเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงในประเทศไทย COVID-19 กับ Systems Modelling Dancing around the R0 5 คำถามสำคัญที่สังคมไทยไม่ควรปล่อยผ่าน: ชวนคิดเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 ระลอกโอมิครอน ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดสองปีที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาและหลากหลายสถาบันได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยประยุกต์ใช้ความรู้ด้านระบาดวิทยา การคิดเชิงระบบ และการพัฒนาแบบจำลองพลวัตระบบ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย 2) การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนการปรับตัวหลังวิกฤตของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนการปรับตัวหลังวิกฤตของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: การจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นอกจากจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับใช้ประกอบการออกแบบและตัดสินใจเชิงนโยบายในภาวะวิกฤต และสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาดำเนินการศึกษาวิจัยระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย คณะผู้วิจัยยังคาดหวังจุดประกายกระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยเกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤต เพื่อเรียนรู้และพัฒนาระบบจัดการภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินในระยะยาว ผลจากการศึกษาและประสบการณ์ตรงจากการทำงานของคณะผู้วิจัยนำมาสู่การสังเคราะห์ตั้งประเด็นคำถาม 5 ข้อเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อชวนให้สังคมได้ย้อนคิดและร่วมกันค้นหาแนวทางเพื่อการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขบนพื้นฐานของหลักฐานวิชาการ (evidence-informed policy-making: EIPM) ภายใต้ข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของข้อมูลและความท้าทายจากความกดดันรอบด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป Q1: กลับตัวก็ไม่ได้จะเดินต่อไปก็ไปไม่ถึง? : เราควรมีนโยบายและมาตรการเพื่อรับมือจัดการระบาดระลอกสายพันธุ์โอมิครอนที่แตกต่างไปจากการรับมือการระบาดระลอกที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง? Q2: ข้อมูลเปลี่ยนไปทำไมความเข้าใจไม่เปลี่ยนตาม? : ประชาชนควรระวังอะไรเป็นพิเศษบ้างในการระบาดระลอกนี้ และควรจะเลิกระวังอะไรได้แล้วบ้าง? Q3: ทำไมเรา (ถูกทำให้) มองเห็นความจริงได้ยากนัก? : ทำไมการนำเสนอสถานการณ์การระบาดของสธ. และ ศบค. จึงยังไม่สามารถในการระบุจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งหมดในแต่ละวันได้อย่างชัดเจน? Q4: ประกาศแบบไหนที่คนไทยพร้อมร่วมมือ? : ข้อควรระวังสำหรับผู้กำหนดนโยบายในการระบาดระลอกนี้ได้แก่อะไรบ้าง? Q5: ฉุกเฉินมาสองปีเราได้เรียนรู้อะไรจากการมีศบค.? : ระบบการจัดการภาวะสาธารณะฉุกเฉินที่ดีควรเป็นอย่างไร?