ปัญหาแบบไหน ที่ต้องใช้การคิดเชิงระบบ


นักแก้ปัญหาหรือนวัตกรที่ดีจะต้องเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะกับประเภทของปัญหา เพื่อที่เราจะได้ไม่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมตามคำพังเพยฝรั่งที่ว่า “สำหรับผู้ที่ถนัดใช้ค้อนแล้ว ทุกอย่างจะเป็นตะปู” หรือตามคำพังเพยไทยที่ว่า“ขี่ช้างจับตั๊กแตน”

แล้วการคิดเชิงระบบนั้นเหมาะกับปัญหาแบบไหนกัน?

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ มาดูกันก่อนว่าปัญหานั้นมีแบบไหนบ้าง

  1. ปัญหาเรียบง่าย (Simple problem) เช่น การทำอาหารตามสูตร ปัญหาประเภทนี้จะไม่มีตัวแปรที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ไม่ดี สิ่งสำคัญคือการมีสูตรที่ดี และการทำตามสูตรเป๊ะๆ โดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญอะไรเป็นพิเศษ ก็จะทำให้ได้อาหารออกมาดีแบบเป๊ะๆ ทุกครั้งเช่นกัน
  2. ปัญหายุ่งยาก (Complicated problem) เช่น การส่งจรวดไปดวงจันทร์ สูตรมีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอ เราต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาในการแก้ปัญหานี้ เมื่อได้สูตรและองค์ความรู้ในการสร้างจรวดอันที่หนึ่งแล้วเราสามารถปรับใช้ในการสร้างจรวดอันต่อไปได้ เพราะจรวดใดๆ ก็มีองค์ประกอบส่วนใหญ่คล้ายๆ กัน ปัญหาที่ยากมักเป็นปัญหาเชิงเทคนิค เป็นปัญหาที่รายละเอียดเยอะและมีความยากเชิงเทคนิคแต่ตรงไปตรงมา สามารถระบุโจทย์หรือต้นตอของปัญหาได้ชัดเจน
  3. ปัญหาซับซ้อน (Complex problem) เช่น การเลี้ยงลูกที่การใช้สูตรสำเร็จมีข้อจำกัด การเลี้ยงลูกคนแรกได้แบบหนึ่งไม่ได้ช่วยการันตีว่าจะสามารถเลี้ยงลูกคนต่อไปได้ในแบบเดียวกัน เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน การเลี้ยงลูกคนหนึ่งให้ประสบการณ์บางอย่างแต่มีข้อจำกัดในการใช้วิธีการเดียวกันในการเลี้ยงลูกคนต่อไป ปัญหาทางสังคมและองค์กรส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนป็น

ปัญหาที่ซับซ้อนนี้ยังรู้จักในชื่อปัญหาที่พยศ (Wicked problem) หรือความท้าทายที่ไม่อยู่นิ่ง (Adaptive challenge) ด้วย

แล้วอะไรทำให้สร้างความซับซ้อนให้กับปัญหาซับซ้อน?

เพราะการปฏิสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีมุมมองด้านคุณค่า ความเชื่อ หรือความเข้าใจต่อปัญหาที่ต่างกัน และมารากของปัญหาที่ซ่อนอยู่ลึก ส่งผลให้เกิดปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีพลวัตสูง

การคิดเชิงระบบเหมาะกับการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เนื่องจากมีวิธีคิดและชุดเครื่องมือที่ช่วยให้ คิดลึกที่ช่วยให้ขุดลึกไปถึงชุดความเชื่อ(mental model) ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น คิดกว้าง ที่ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงทุกองค์ประกอบที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหา และ คิดยาว ที่ช่วยให้เข้าใจพลวัตของปัญหา

อ่านต่อ:


อ้างอิง:

3 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x