แบบจำลองสถานการณ์เพื่อพิจารณาแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ภายหลังการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ หลังการระบาดระลอกแรกในประเทศไทย ปี 2563
24 เมษายน 2563
การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมานับเป็นปัญหาที่มีความร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง กล่าวคือเป็นโรคระบาดที่ในแวดวงวิชาการยังมีความรู้ความเข้าใจจำกัด อีกทั้งยังส่งผลทั้งต่อเรื่องสุขภาพโดยตรงรวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อควบคุมการระบาดให้ได้อย่างมีประสิทธิผล รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ “นโยบายเข้มข้น” ในการควบคุมโรค กล่าวคือภาครัฐได้ประกาศใช้นโยบาย “ล็อคดาวน์” ปิดสถานที่ราชการ รวมถึงบริการต่าง ๆ อาทิ ศูนย์การค้า รวมถึงประกาศใช้นโยบายงดการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
นโยบายที่เข้มข้นเหล่านี้ล่วนมีประสิทธิผลในการควบคุมโรค อย่างไรก็ตาม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จากการไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้จากการใช้นโยบายดังกล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้แบบจำลองคาดการณ์สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยได้ที่ด้านล่างนี้ โดยแบบจำลองที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถสร้างฉากทัศน์สถานการณ์การระบาดได้ตามเงื่อนไขนโยบาย “เปิดเมือง” ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถทดลองปรับได้ด้วยตนเอง
สมมติฐานของแบบจำลองการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทย
1.ค่าเฉลี่ยที่ผู้ติดเชื้อหนึ่งคนจะแพร่เชื้อให้แก่คนอื่นกี่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคในระยะก่อนมีนโยบายควบคุมโรค หรือ basic reproduction number (R0) = 2.2
- Contact frequency ~ 10 ครั้ง/วัน (อาจจะมากกว่า 30 ครั้ง/วัน ใน Superspreading Event)
- Infection probability ~ 4.78% (He et al., 2020)
2.ระยะเวลาฟักตัวโดยเฉลี่ย (ตั้งแต่ติดเชื้อถึงแสดงอาการ) = 5.2 วัน
3.ระยะเวลาแพร่เชื้อโดยเฉลี่ย = 4.6 วัน (1 วันก่อนแสดงอาการ, 3.6 วันหลังแสดงอาการ)
4.ระยะเวลาฟื้นตัวโดยเฉลี่ยกรณีไม่ได้รับไว้รักษาในรพ. = 4.6 วัน (ตั้งแต่แสดงอาการถึงไม่มีอาการ)
5.ระยะเวลาฟื้นตัวโดยเฉลี่ยกรณีรับไว้รักษาในรพ. = 7-28 วัน (ตั้งแต่แสดงอาการถึงกลับบ้านหรือเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคน)
6.ความสามารถในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรค 20,000 test/วัน
7.จำนวนผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าประเทศไทยนอกระบบกักโรค = 5-15 คน/สัปดาห์
สมมติฐานของแบบจำลอง “TTI” of COVID-19 ในประเทศไทย
1.ค่าเฉลี่ยที่ผู้ติดเชื้อหนึ่งคนจะแพร่เชื้อให้แก่คนอื่นกี่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคในระยะก่อนมีนโยบายควบคุมโรค หรือ basic reproduction number (R0) = 1.25, 1.8, 2.2
2.ระยะเวลาฟักตัวโดยเฉลี่ย (ตั้งแต่ติดเชื้อถึงแสดงอาการ) = 5.2 วัน
3.ระยะเวลาแพร่เชื้อโดยเฉลี่ย = 4.6 วัน (1 วันก่อนแสดงอาการ, 3.6 วันหลังแสดงอาการ)
4.ขีดความสามารถการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคในระดับพื้นที่ 10,000 test/วัน
5.ระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อนำเข้ามาอยู่ในจังหวัด = ระยะเวลาแพร่เชื้อโดยเฉลี่ย (possible worst case)
6.อัตราป่วย (attack rate) = 5% (1%-9%) of contact cases
7.จำนวน outbreak investigator team ในแต่ละจังหวัด = #districts + 1 (ทีมสคร.)
8.จำนวน index case ที่ทีมสามารถสอบสวนโรคได้ = 3 (1-5) index cases/day/team
9.ระยะเวลาในการติดตาม all contact cases ของแต่ละ index case โดยเฉลี่ย = 7 (3-14) days
10.จำนวนผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าไปในจังหวัดที่อยู่นอกระบบกักโรค = 2-10 คน/สัปดาห์
ข้อจำกัดของแบบจำลองสถานการณ์ระบาดวิทยาในระดับประเทศ
1.อัตราการแพร่เชื้อในชุมชนของแบบจำลองระดับประเทศเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ไม่สามารถใช้คาดการณ์ในระดับพื้นที่ได้
- เขตเมือง จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรม/ธุรกิจท่องเที่ยว/สถานศึกษาขนาดใหญ่ และจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ/แพร่เชื้อในชุมชนมากกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ และมีโอกาสที่อัตราการนำเข้าผู้ติดเชื้อเข้ามาในพื้นที่มากกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
2.ประสิทธิผลของมาตรการควบคุมโรคในระยะผ่อนคลาย (“The Dance”) ในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติดั้งเดิมของอัตราการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนในแต่ละพื้นที่
- บางพื้นที่มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อาจเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มต้นน้อยอยู่แล้ว
- โอกาสในการเกิดการระบาดแบบกลุ่ม (cluster epidemics) คาดเดาได้ยาก
- โอกาสในการมีผู้ติดเชื้อเริ่มต้นในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเดินทางข้ามพื้นที่