ไอน์สไตน์ได้กล่าวไว้ว่า
“We can’t solve problems by using the same kind of thinking we used when we created them”
หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “เราไม่สามารถแก้ปัญหาโดยใช้วิธีคิดแบบเดิมๆ ที่เราใช้การสร้างปัญหานั้นขึ้นมา”
ดังนั้นเมื่อนักคิดเชิงระบบต้องแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จึงต้องใช้วิธีคิดใหม่ปัญหาที่นักคิดเชิงระบบแก้ไขมักจะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนจะมีพลวัตสูง และขอบเขตของปัญหาที่ไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับนักแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคที่โจทย์ชัดแต่การแก้ยาก ทำให้นักแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการแก้ไขปัญหา ต่างจากนักคิดเชิงระบบซึ่งจำเป็นใช้เวลาในการทำความเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อนยาวนาน แถมแนวทางในการแก้ปัญหาก็มักจะไม่ปรากฎชัดเจนด้วย
Leyla Acaroglu นักออกแบบและนวัตกรด้านความยั่งยืนชาวออสเตรเลียได้ให้ข้อแนะนำ 7 ข้อสำหรับนักคิดเชิงระบบมือใหม่ ในการรับมือกับปัญหาซับซ้อนนี้
1. จงโอบรับความซับซ้อน
วิธีแก้แบบเร็วๆ (Quick fix) ใช้ไม่ได้กับปัญหาที่ซับซ้อน ดังนั้นนักคิดเชิงระบบจะต้องโอบรับความซับซ้อนนั้นโดยที่ไม่ด่วนสรุป เพราะคิดว่าตัวเองเข้าใจปัญหาดีแล้วหรือรีบหาวิธีแก้ หรือ เครื่องมือต่างๆ ของการคิดเชิงระบบ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาที่ซับซ้อน
2. อย่ารีบลงมือแก้ปัญหา
มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะรีบลงมือแก้ปัญหา ทำให้เราไม่ใช้เวลาในการทำความเข้าใจปัญหาอย่างเพียงพอ เพื่อเข้าใจพลวัตและข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในระบบ หากมีไอเดียที่ดีในการแก้ปัญหา จดมันไว้ก่อน แต่อย่ารีบหยุดทำความเข้าใจปัญหา แต่จงโฟกัสกับการเรียนรู้ทำความเข้าใจปัญหาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
3. มองหาจุดคานงัดที่ซ่อนอยู่
จุดคานงัดคือจุดในการแก้ปัญหาในระบบที่ลงแรงน้อยแต่ได้ผลมาก เปรียบเทียบได้กับคานงัดที่ช่วยให้เราสามารถยกของหนักได้โดยใช้แรงไม่าก โดยมากแล้วจุดคานงัดของระบบจะซ่อนอยู่ นักแก้ปัญหาเชิงระบบต้องมองทะลุให้เห็นรากและความเชื่อมโยง
ตัวอย่างเช่น หากเราต้องต้องการแก้ปัญหาคะแนนสอบที่ต่ำลงของเด็กนักเรียนในอำเภอของเรา จุดคานงัดอาจจะไม่ใช่คุณภาพการสอน แต่อาจจะเป็นวัฒนธรรมชุมชนที่ดี หรือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน
การสร้างแผนที่ของระบบโดยใช้เครื่องมือเครื่องมืออย่างCausal loop diagram
(แผนภาพวงจรสาเหตุ) สามารถช่วยหาจุดคานงัดได้(เรียนรู้เกี่ยวกับCausal loop diagram ได้ที่ มองครบ มองลึก มองยาว:ชุดเครื่องมือของนักคิดเชิงระบบ)
4. เริ่มจากจุดที่เราทำได้
ปัญหาทางสังคมมักมีความซ้บซ้อนและใหญ่ จนทำให้เรารู้สึกท้อแท้หรือถอดใจ เพราะว่ามันใหญ่เกินกว่าที่เราจะแก้ได้ แต่นักคิดเชิงระบบควรจะเริ่มจากจุดที่ทำสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง ครอบครัว ชุมชน หรือองค์กร
5. เข้าใจระดับของการแก้ปัญหาเพื่อเลือกวิธีแก้ที่เหมาะสม
การเข้าใจระดับการแก้ปัญหาว่าเป็นระดับบุคคล ระดับสังคม หรือระบบนิเวศน์ ช่วยให้สามารถช่วยให้เราเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
ในระดับบุคคลเราสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม หรือใช้ทั้งสองอย่างได้ เช่น การใช้ Fitness tracker (ผลิตภัณฑ์) ที่มีการแข่งขันกับเพื่อน (ปฏิสัมพันธ์) เพื่อกระตุ้นให้บุคคลมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในระดับสังคมเราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยผลิตภัณฑ์ หรือการปฏิสัมพันธ์กับสังคม หรือใช้ทั้งสองอย่างได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการแก้ปัญหาการเหยียดเพศในที่ทำงาน เราอาจจะพัฒนาสื่อ (ผลิตภัณฑ์) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถระบุและจัดการกับพฤติกรรมเหยียดเพศ หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้บทบาทผู้หญิงมากขึ้น (ปฏิสัมพันธ์)
6. ป้องกันให้ไม่เกิดผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจ
สังเกตและประเมินผลกระทบจากการแก้ปัญหาว่าช่วยแก้ปัญหาไหม หรือก่อให้เกิดผลในทางลบหรือไม่
7. แก้ปัญหาในวันนี้อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ในทันที
ระบบมักจะมีความล่าช้าระหว่างการแก้ปัญหาและผลลัพธ์ เช่น การเริ่มออกกำลังกายไม่ได้ทำให้ระบบร่างกายของเราดีขึ้นโดยทันที อาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนที่จะเห็นผลลัพธ์ที่วัดได้ชัดเจน ดังนั้นอดทนรอ
หากการแก้ปัญหาเชิงระบบเป็นวิธีที่คุณคิดว่าน่าสนใจ มาเริ่มเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ของการคิดเชิงระบบได้ที่ มองครบ มองลึก มองยาว:ชุดเครื่องมือของนักคิดเชิงระบบ
อ้างอิง:
● Tools for Systems Thinkers: 7 Steps to Move from Insights to Interventions by Leyla Acarogl